วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 8 การเขียนแบบแผ่นคลี่



หน่วยที่ 8 การเขียนแบบแผ่นคลี่





การเขียนแบบแผ่นคลี่
การเขียนแบบแผ่นคลี่ในงานโลหะแผ่น การสร้างโดยทั่วไปแล้วมักจะใช้กันอยู่เสมอๆ
มี4 แบบด้วยกัน
1.  วิธีอย่างง่าย
2.  วิธีเส้นขนาน(Parallel - Line Method)
3.  วิธีเส้นรัศมี(Radial – Line Method)
4.  วิธีรูปสามเหลี่ยม(Triangulation Method)
ช่างเขียนแบบแผ่นคลี่ในงานโลหะแผ่น  จะต้องตัดสินใจว่าวิธีการเขียนให้เหมาะสมกับรูปร่างของชิ้นงานเพียงวิธีเดียว  ผู้ที่จะทําการเขียนแบบแผ่นคลี่ได้สมบูรณ์ดีนั้น  จะต้องรู้จักตะเข็บต่างๆ ตลอดจนการเผื่อขอบโลหะสําหรับตะเข็บนั้นๆ รวมทั้งการพับ  การเข้ามุม  นอกจากนี้จะต้องรู้จักนอต(Notch) คือ  รอยบากภายในแผ่นคลี่  เช่น  ครีบ  เพื่อต้องการพับขึ้นรูปกระทําได้อย่างถูกต้องและชิ้นงานที่พับไม่เสียรูปทรงชนิดของตะเข็บของงานโลหะแผ่
การเขียนแบบแผ่นคลี่อย่างง่าย
การเขียนแบบแผ่นคลี่อย่างง่าย  ส่วนมากจะเป็นการคลี่ชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีรูปร่างไม่ซับซ้อน สามารถที่จะนําขนาดที่เห็นในภาพสามมิติหรือภาพฉาย  นํามาใช้ในการเขียนแบบแผ่นคลี่ได้โดยตรง โดยไม่ต้องนํามาหาขนาดสูงจริงอีก
การเขียนแบบแผ่นคลี่อย่างง่ายจะใช้วิธีเริ่มต้นคลี่ออกมาจากฐาน หรือคลี่ออกทางด้านข้างก็ได้เช่น การคลี่ผลิตภัณฑ์กล่องสี่เหลี่ยมและถาด เป็นต้น การเขียนแบบคลี่กล่องสี่เหลี่ยมมุมฉากด้วยวิธีอย่างง่าย โดยคลี่ออกจากฐาน
1.  ศึกษาจากภาพสามมิติ  โดยพิจารณาลักษณะและรายละเอียดของกล่อง  เช่น  ขนาด  การพับขอบ และตะเข็บที่ใช้ประกอบยึด เป็นต้
2.  ทําการคลี่กล่องสี่เหลี่ยมมุมฉากโดยเริ่มจากฐาน 
3.  เพิ่มเติมการพับขอบและการทําตะเข็บตามแบบ
การคลี่กล่องสี่เหลี่ยมมุมฉากตัดเฉียง โดยคลี่ออกทางด้านข้าง
1.  ศึกษาแบบจากภาพสามมิติ โดยพิจารณาลักษณะรูปร่างและรายละเอียดต่างๆ  ของกล่องเช่น ตะเข็บและการพับขอบ เป็นต้
2.  พิจารณาจากภาพสามมิติจะเห็นว่า  พื้นที่บริเวณฐานของกล่องมีขนาดเล็ก  การคลี่ออกจากฐานหรือกันกล่องจะทําให้การพับขึ้นรูปทําได้ไม่สะดวก  จึงควรพิจารณาคลี่ออกทางด้านข้างจะเหมาะสมกว่
3.  เพิ่มเติมตะเข็บเกยบริเวณกันกล่อง  พับขอบชั้นเดียวบริเวณขอบด้านบน  และทําตะเข็บสองชั้นที่ด้านข้างของแผ่นคลี่ การเขียนแบบแผ่นคลี่กล่องสี่เหลี่ยมมุมฉากแบบแยกชิ้นการออกแบบแผ่นคลี่กล่องสี่เหลี่ยมมุมฉากนี้  สามารถออกแบบให้แผ่นคลี่เป็นชิ้นเดียวกันหรือแบบแยกชิ้นก็ได้ กรณีการออกแบบแผ่นคลี่แบบแยกชิ้น  จะทําให้การพับขึ้นรูปและการประกอบชิ้นส่วนกระทําได้ง่าย  อีกทั้งการออกแบบแผ่นคลี่แบบแยกชิ้นทําให้ประหยัดวัสดุได้เป็นอย่างดี  นั่นคือ  มีเศษแผ่นโลหะเหลือทิ้งน้อยกว่าการออกแบบแผ่นคลี่แบบเป็นชิ้นเดียวกัน
1.  ศึกษาแบบจากภาพสามมิติ  โดยพิจารณากับรูปร่าง  และรายละเอียดต่างๆ ของกล่องเช่น ลักษณะการต้อ ชนิดของตะเข็บ และการเข้าขอบลวด เป็นต้น จากภาพสามมิติที่ได้ออกแบบไวๆเห็นว่า กล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีชิ้นส่วนประกอบจํานวน3 ชิ้น
2.  ทําการคลี่ชิ้นส่วนหลักก่อน คือ ชิ้นที่1 โดยทําการคลี่ออกจากฐาน
3.  นําแผ่นคลี่ชิ้นที่1 ที่ได้มาเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเผื่อการเข้าขอบลวด ระยะเผื่อของตะเข็บ
ระยะเผื่อตะเข็บเกย= 5 มม.
ระยะเผื่อการเข้าขอบลวด= 2.5 ¯3 = 7.5 มม.
4.  ทําการเขียนแบบแผ่นคลี่ชิ้นที่2 และ3 ซึ่งมีขนาดเท่ากัน พร้อมทั้งเผื่อระยะการเข้าขอบลวด
การเขียนแผ่นคลี่ถาดจีบมุม
การออกแบบกล่องสี่เหลี่ยมมุมฉาก และถาดสามารถออกแบบการคลี่ให้เป็นชิ้นเดียวกันหรือแยกชิ้นก็ได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวก  หรือความยากง่ายในการขึ้นรูปประกอบ  และขั้นตอนในการปฏิบัติงาน  แต่ชิ้นงานที่ได้จากการออกแบบทั้งสองแบบนี้  ก่อนนําไปใช้งานต้องบัดกรีก่อนเพื่อป้องกันของเหลวรั่วซึม  แต่มีการออกแบบถาดอีกแบบหนึ่ง  หลังจากพับขึ้นรูปแล้วสามารถนําไปบรรจุของเหลวได้เลยโดยไม่ต้องนําไปบัดกรีอีก นั่นก็คือ ถาดแบบจีบมุม
วิธีการคลี่ถาดจีบมุม
1.  ศึกษาแบบงานจากภาพสามมิติและภาพฉาย  โดยพิจารณาความกว้าง  ความยาว  และความสูงของชิ้นงาน
2.  เขียนแบบการคลี่ โดยคลี่ออกมาจากฐานหรือกันถาด
3.  ร่างส่วนที่จีบ  โดยใช้จุดเป็นจุดศูนย์กลาง  กางรัศมีac เขียนส่วนโค้ง  ใช้วงเวียนถ่ายระยะ cg เท่ากับ ge ลากเส้ ah และ bh จากนั้นจึงเผื่อระยะพับขอบ
สรุป
งานเขียนแบบแผ่นคลี่ด้วยวิธีอย่างง่ายนั้น  จะใช้คลี่ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างไม่ซับซ้อน  สามารถ
นําขนาดจริงจากภาพสามมิติ  หรือภาพฉายมาทําการคลี่ได้เลย  ซึ่งอาจจะทําการคลี่ออกมาทาง
ด้านข้าง  หรือคลี่ออกมาจากฐานก็ได้  แล้วแต่ความเหมาะสมหรือความยากง่ายในการพับขึ้นรูป
และการต่อตะเข็บ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานต้องพิจารณาเลือกใช้วิธีการคลี่
การเขียนแบบแผ่นคลี่โดยวิธีเส้นขนาน
หลักการเขียนแบบแผ่นคลี่โดยวิธีเส้นขนาน
การเขียนแบบแผ่นคลี่ด้วยเส้นขนาน  ชิ้นงานจะต้องมีรูปทรงของฐานและยอดเหมือนกัน
เช่น  รูปปริซึม(Prism) และรูปทรงกระบอก(Cylinder) เมื่อเราฉายเส้นแผ่นคลี่ออกไปจะเป็นเส้
ขนาน(Parallel Line)
คําจํากัดความ
1.  รูปด้านหน้า(Front View or Elevation View) เป็นรูปด้านหน้า  ซึ่งจะแสดงความสูง
และความกว้างของชิ้นงาน หรือจะใช้รูปด้านข้าง(Side View)
2.  เส้นฐาน(Base  Line) เป็นเส้นที่ลากจากฐานรูปด้านหน้าออกไปทางข้างจะต้องให้ตั้ง
ฉากกับเส้นของรูปด้านข้างด้วย ใช้เป็นเส้นอ้างอิงและเป็นเส้นฐานของรูปแผ่นคลี่
3.  เส้นแบ่งส่วน(Element Line)  เป็นเส้นแบ่งเส้นรอบรูปชิ้นงานที่รูปแปลน  ออกเป็น ส่วนๆ และ
จะต้องใช้ถ่ายระยะส้วนแบ่งไปยังเส้Base Line ซึ่งจะต้องใช้ประกอบกันเป็น  รูปแผ่นคลี่
4.  เส้นรอบรูป(Stretch Out Line) เป็นเส้นรอบรูปของแผ่นคลี่
5.  เส้นฉาย(Projection Line) เป็นเส้นที่ใช้ถ่ายขนาดหรือระยะจากรูปด้านหนึ่งไปยังรูปอีกด้านหนึ่ง
การเขียนรูปด้านบน(Plane View) และรูปด้านหน้า(Front View) ในการเขียนรูปทรงปริซึม ก็คล้ายกับการเขียนแบบรูปทั่วๆ ไป เพียงแต่ว่าเมื่อรูปทรงมีหลายเหลี่ยมโอกาสผิดพลาดในการเขียนจึงมีค่อนข้างมาก  ซึ่งถ้าหากว่าเขียนรูปผิดก็เท่ากับว่างานชิ้นนั้นจะเปลี่ยนรูปทรงทันที ดังนั้น เราควรพิจารณาขั้นตอนการเขียนรูปดังนี้
1.  เขียนรูปด้านบน ว่าต้องการรูปทรงใด
2.  ฉายเส้นจากภาพด้านบนไปยังเส้นฐานของภาพด้านหน้
3.  นําความสูงของชิ้นงานที่ต้องการมาเขียน จะได้ภาพฉายด้านหน้าที่ถูกต้อง
แบบแผ่นคลี่โดยวิธีเส้นขนาน จะมีส่วนสําคัญอยู่2 ส่วน คือ
1.  สูงจริง(True Length) จะได้จากรูปด้านหน้า  หรือด้านข้าง(Front or Side View) ส่วนใหญ่จะฉายเส้น(Projection  Line) ไปยังรูปแผ่นคลี่ให้ตั้งฉากกับเส้นข้างของรูปด้านหน้าหรือด้านข้าง
2.  ส่วนแบ่ง(Element) จะเป็นส่วนที่บอกถึงความยาวของเส้นรอบรูป  และเป็นส่วนสําคัญที่ใช้ขึ้นรูปแผ่นคลี่
การแบ่งส่วนเส้นรอบวง
โดยทั่วไปในการสร่างแผ่นคลี่โลหะแผ่นจะแบ่งส่วนอย่างน้อย12 ส่วน  ยิ่งแบ่งส่วนได้มากก็จะได้เส้นความยาวของเส้นรอบวงตรงกับความจริงมากขึ้น
การถ่ายระยะส่วนแบ่ง และการคํานวณเส้นรอบรูปงานกลม
1.  การใช้วงเวียนถ่ายระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวง
2.  การคํานวณเส้นรอบวง
หลักการเขียนแบบแผ่นคลี่  จะมีอยู่2 ขั้นตอน คือ
1.  รูปฉาย(Working  Drawing) ซึ่งประกอบด้วยรูปด้านหน้า(Front  View) และด้านบน(Top View)
2.  รูปแผ่นคลี่(Pattern  หรือDevelopment) เป็นรูปแผ่นแบบเรียบ  เช่น  แผ่นกระดาษเมื่อนํามาขึ้นรูปก็จะได้ตามแบบที่ต้องการ
ข้อควรคํานึงในการเขียนแบบ
-  พิจารณารูป ปริซึม ทรงกระบอก แบบตั้งฉากหรือแบบเอียง
-  การฉายเส้นที่ถูกต้อง จะเป็นเส้นขนาน
-  การแบ่งส่วนให้เหมาะกับรูปด้านบน
-  ลากเส้นฐานคลี่(Base Line or Base Curve)
-  ความยาวแผ่นคลี่ได้จากเส้นรอบรูปด้านบน
-  ส่วนสูงแผ่นคลี่ได้จากเส้นสูงจริงจากรูปด้านหน้
-  การลากเชื่อมจุดตัดต่าง ๆ
ขั้นตอนการเขียนแผ่นคลี่ด้วยเส้นขนาน
ISOMETRIC rectangular duet
1.  เขียนรูปด้านหน้า(Elevation View)และรูปด้านบน(Top View)
2.  แบ่งส่วนรูปด้านบน กําหนดตัวอักษร หรือตัวเลขกํากับส่วน
3.  ฉายเส้นจากจุดแบ่งรูปด้านบนไปยังรูปด้านหน้า  และฉายออกไปทางด้านข้างของรูปด้านบนก่อนอื่นต้องลากเส้นฐานของแผ่นคลี่(Base Line) ออกไปก่อน
4.  วัดความยาวส่วนแบ่งจากรูปด้านบนถ่ายลงบนเส้นฐานของรูปแผ่นคลี่
5.  จุดแบ่งบนเส้นฐานของแผ่นคลี่ให้ลากเส้นตั้งฉากขึ้นไป ตัดกับเส้นถ่ายระยะความสูงของรูปด้านหน้
6.  ลากเส้นรอบรูป และเส้นรอบพับจะได้รูปแผ่นคลี่
7.  เผื่อตะเข็บรอยต่อในการขึ้น  และเพื่อตะเข็บรอยต่อในการประกอบงาน(กรณีมีการประกอบชิ้นงาน)
วิธีสร่างแผ่นคลี่แบบเส้นขนาน
1.  กําหนดจุดที่ภาพด้านหน้า ด้านข้าง ด้านบน และรอยต่
2.  ฉายเส้นตรงจากภาพด้านหน้าและด้านข้างจะได้ความสูง
3.  วัดระยะฐานก่อนแล้วกําหนดจุดจะเริ่มต้นจากรอบพับจากไปที่จุด1 แล้วลากเส้นตรง
ตั้งฉากไปตัดเส้นที่ลากขนานจุดที่เหลือทําเหมือนจุดแรก ไปจนถึงX’
4.  กําหนดจุดความสูงแล้วลากเส้นต้อจุดจะได้แผ่นคลี่ของปริซึม
ด้านบน
วิธีสร้างแผ่นคลี่แบบเส้นขนาน (ปริซึมถูกตัดเฉียง)
1.  กําหนดจุดที่ภาพด้านบน ภาพด้านหน้า และกําหนดจุดรอยต่
2.  ฉายเส้นตรงขนานทุกจุดที่ภาพด้านหน้
3.  ใช้วงเวียนหรือวัดระยะที่ฉายโดยวัดระยะความห่างที่ภาพด้านบนแล้วลากเส้นตั้งฉากตัดเส้นตรงที่ลากขนาน จะได้จุดตัด กําหนดจุดแล้วลากเส้นต้อจุดจะได้แผ่นคลี่รูปปริซึมวิธีการเขียนภาพคลี่ชิ้นงานทรงกระบอกตัด