วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 6 งานโลหะแผ่น และประกอบขึ้นรูปชิ้นงาน



หน่วยที่ 6 งานโลหะแผ่น 
                               และประกอบขึ้นรูปชิ้นงาน


ในการดำรงชีวิตประจำวันในปัจจุบัน  มนุษย์มีความใกล้ชิดกับงาน หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะแผ่นเป็นอย่างมาก  เช่น  หม้อ  กระทะ  ขันน้ำ  ตู้เย็น  และโครงของเครื่องทำความเย็น  ก็ล้วนแต่ทำมาจากโลหะแผ่นแทบทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการนำพลาสติกมาใช้กันมากก็ตาม   แต่พลาสติกก็มีขอบเขตการใช้งาน  และระยะเวลาการทำงาน  เช่น  ไม่แข็งแรง  ไม่ทนความร้อน หรืออายุการใช้งานน้อย เป็นต้น
ดังนั้น งานโลหะแผ่นจึงไม่มีโอกาสหมดไปจากชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้ เนื่องจากชิ้นงานที่ทำจากโลหะแผ่นนั้นมีความแข็งแรง  สามารถขึ้นรูป  และตกแต่งให้เกิดความสวยงามได้  และที่สำคัญมีอายุการใช้งานได้นาน  ถึงแม้ว่าปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการออกแบบและผลิตโลหะแผ่นก็ตาม แต่งานโลหะแผ่นบางประเภทไม่สามารถผลิตด้วยเครื่องจักรได้  ดังนั้นงานโลหะแผ่นที่ต้องใช้ฝีมือในการขึ้นรูป ยังมีให้เห็นอยู่ตลอดเวลา  จึงมีความสำคัญอย่างมากที่ช่างอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องศึกษาและปฏิบัติให้รู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้และเสริมสร้างประสบการณ์ในการทำงานของตนเองต่อไป
สาระสำคัญประจำหน่วย
                    งานโลหะแผ่น เป็นงานที่เราสามารถทำใช้เองในบ้านเบื้องต้นได้ โดยใช้งานร่างแบบเป็นพื้นฐานเบื้องต้น การร่างแบบเราจะใช้เครื่องมือร่างแบบกำหนดตำแหน่ง การเขียนหมายงาน เป็นการเตรียมงานขั้นต้น โดยการลากเส้น ขีดวงกลมส่วนโค้ง  ตอกจุดตำแหน่งเจาะรูต่าง ๆ  ลงบนแผ่นหรือแท่งวัสดุโลหะ   
เครื่องมือร่างแบบเป็นอุปกรณ์ ที่ต้องระมัดระวังการใช้งานและการเก็บรักษา
          จุดประสงค์การเรียนรู้
1.   ผู้เรียนสามารถอธิบายการใช้งานเครื่องมืองานร่างแบบได้
2.   ผู้เรียนสามารถอธิบายขั้นตอนการผลิตชิ้นงานโลหะแผ่นได้                                 
คำชี้แจง
1.  ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ศึกษาสาระการเรียนรู้ตามหัวข้อที่เหมาะสมของงานร่างแบบ   แล้วร่วมกันสรุป 
2.  ให้ผู้เรียนทำเขียนแบบงานร่างแบบ ลงในกระดาษขาว ทุกคน เพื่อฝึกทักษะเบื้องต้นการร่างแบบชิ้นงาน เหล็กกั้นหนังสือ  แล้วส่งผู้สอนตรวจสอบการร่าง สรุปการทำงาน
3.  ควรใช้เวลาในการเรียนรู้  1 ชั่วโมงเรียน  
4.  ให้ผู้เรียนปฏิบัติงาน ตามใบงานการทำ เหล็กกั้นหนังสือ 
5.  การปฏิบัติงาน ทำเหล็กกั้นหนังสือ  ใช้เวลา  3 ชั่วโมง  
           หมายเหตุ
                การฝึกทักษะประสบการณ์ ควรออกแบบชิ้นงานให้ครอบคลุม เช่น การใช้สว่าน การใช้ตะไบ การใช้เลื่อย การใช้สกัด เหล็กส่ง กรรไกรตัดเหล็ก ฯ   ทักษะการใช้เครื่องมือเบื้องต้นในงานโลหะ ตามความเหมาะสมของเวลา
           การร่างแบบงาน
                    หมายถึงการกำหนดตำแหน่ง การเขียนหมายงาน เป็นการเตรียมงานขั้นต้นโดยการลากเส้น  ขีดวงกลม ส่วนโค้ง   ตอกจุดตำแหน่งเจาะรูต่าง ๆ  ลงบนแผ่นหรือแท่งวัสดุโลหะ  เพื่อให้ได้รูปตำแหน่งถูกต้องตรงตามแบบที่กำหนดเส้นที่ร่างขีดเหล่านี้ จะช่วยให้การตัดแต่งชิ้นงานได้รูปร่างและขนาดถูกต้อง ตรงตามความต้องการ
               เครื่องมือที่ใช้ในการทำงานประเภทนี้เรียกว่า  เครื่องมือร่างแบบ (layout tools) การร่างแบบหมายงาน เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ  ซึ่งผลงานจะออกมาเรียบร้อยถูกต้องแน่นอนเพียงใดขึ้นอยู่กับความพร้อม ความถูกต้องเรียบร้อยของเครื่องมือ ตลอดจนการระมัดระวังในการใช้ สิ่งสำคัญเครื่องมือจะต้องอยู่ในสภาพที่ดี สมบูรณ์ ไม่ชำรุด
        การขีดเส้นร่างแบบบนโลหะ
 ปกติแผ่นโลหะที่นำมาร่างแบบ เพื่อที่จะทำเป็นชิ้นงานตามแบบ จะต้องผ่านกระบวนการ การตกแต่งผิวงานให้เรียบร้อยเสียก่อน โดยการลบความมันของผิวลงก่อนด้วยการใช้น้ำยาร่างแบบ(layout dye) ซึ่งมีทั้งแบบสำเร็จรูป และแบบผสมเอง
                    น้ำยาย้อมผิวโลหะแบบสำเร็จรูปสามารถใช้ได้เลย แต่มีราคาแพง และจะมีสีน้ำเงิน ระเหยง่ายแห้งเร็ว ควรใช้อย่างระมัดระวังอย่าให้เข้าตา ไม่สูดดม เมื่อใช้เสร็จควรปิดฝาให้สนิท ก่อนทาน้ำยา ควรเช็ดคราบไขมันผิวโลหะให้สะอาดก่อน เพื่อน้ำยาจะได้ติดผิวโลหะได้ง่าย
                    นอกจากนี้เราสามารถให้วัสดุอื่นแทนในการร่างแบบ เช่น หมึกพิมพ์อัดสำเนาผสมแอลกอฮอล์   จุนสีหรือคอปเปอร์ซัลเฟต  (Copper sulphate)   ละลายน้ำ  สีเสน   หมึกของปากกาไวต์บอร์ด ก็สามารถนำมาใช้แทนได้ หรือแม้นแต่ชอล์กก็ใช้ได้   ปัจจุบันมีปากกาซึ่งเหมือนปากกา
ไวต์บอร์ด แต่ราคาแพงกว่า ใช้เขียนโลหะได้ สามารถนำมาทาร่างแบบได้
            อุปกรณ์เครื่องมือร่างแบบ
                    อุปกรณ์ที่จะใช้ในการร่างแบบจะต้องเป็นเครื่องมือที่ต้องมีความคมแหลม แข็ง นอกจากเครื่องมือแล้วยังต้องมี โต๊ะระดับแท่งวี แท่งฉาก ฯลฯ และเครื่องมือวัด บางอย่างสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ ซึ่งเครื่องมือร่างแบบหมายงานได้กล่าวไว้ในหน่วยที่ 2 แล้ว จึงขอทบทวนเฉพาะชื่อชนิดเครื่องมือที่ใช้เท่านั้น ดังนี้
 1.  เหล็กขีด เป็นเหล็กปลายแหลม มีทั้งแบบ 2 ข้างและ ข้างเดียว เป็นเหล็กกล้าชุบแข็งชนิดปลายแหลม 2 ด้านจะทำเป็นตะขอ 1 ข้าง อีกข้างปลายตรง
 2.  วงเวียนเหล็กหรือวงเวียนแบ่ง ปลายมีปลายแหลม 2 ข้าง มีสกรูปรับแต่งให้กางออกการใช้งานควร กางวงเวียนออกให้ได้ขนาดบนฟุตเหล็ก แล้วจึงนำไปขีดบนชิ้นงาน
 3.  วงเวียนคู่ขนาน มีหัวเลื่อน 2 หัวปรับเลื่อนได้บนแกนกลมยาวใช้ในกรณีวงเวียนธรรมดากางไม่พอก็ใช้การเลื่อนบนแกนออกให้โตขึ้นให้ได้ขนาดพอดีแล้วจึงนำไปถ่ายลงชิ้นงาน
  4. วงเวียนปลายขอคล้ายวงเวียนเหล็กแต่ขาด้านหนึ่งจะเป็นตะขอเพื่อใช้เกี่ยวขอบชิ้นงานเพื่อขีดเส้นก็จะได้เส้นขนานกับขอบชิ้นงาน
  5.  โต๊ะระดับ จะทำด้วยเหล็กหล่อ  หรือเป็นพวกหินแกรนิตผิวหน้าโต๊ะต้องใสและขูดเรียบสม่ำเสมอ
  6.   แท่งจับระดับต่าง ๆ ได้แก่ 
-  แท่งฉาก ใช้เทียบจับมุมฉากชิ้นงานบนโต๊ะระดับสามารถพลิกตั้งได้
-  แท่งวี  จะไสเป็นร่อง V ใช้รองรับชิ้นงาน
-  แท่งบรรทัดขอบตรง  ใช้จับระดับความเรียบของชิ้นงานที่มีความกว้าง ยาวมาก ๆ
   7.  ขอช้างหรือเกจจับระดับ จะมีฐานตั้งเป็นร่องตัว  วี  สามารถหมุนขอได้รอบใช้วัดปรับระดับชิ้นงานในเครื่องกลึง
   8.  เวอร์เนียร์วัดความสูง ใช้วัดระดับความสูง     ตัวบรรทัดยึดบนฐานจับเลื่อนไปมาได้      ตัวเลื่อนปรับสูงต่ำได้
   9.  ฉากหรือบรรทัดฉาก ได้แก่ ฉากเหล็ก ฉากเลื่อน ฉากรวม เป็นเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงมากขอบฉากทั้งด้านในและด้านนอกจะเรียบ
   10.  บรรทัดเส้นผม เป็นแผ่นเรียบขอบหรือสันทุกข้างไสเรียบเหมือนคมมีด
   11.  เครื่องมือวัดมุม ได้แก่ แผ่นวัดแบ่งมุม  โปรแทรกเตอร์วัดลึก  แผ่นถ่ายมุมเวอร์เนียร์โปรแทรกเตอร์  เป็นเครื่องมือใช้วัดแบ่งมุมในงานร่างแบบหมายงาน
  การปฏิบัติงานด้านโลหะแผ่นให้ได้ผลงานหรือผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้น นอกจากจะต้องศึกษาคุณสมบัติของโลหะชนิดนั้นแล้ว จำเป็นต้องมีเครื่องมือ ซึ่งมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ และอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและเหมาะสม จึงจะทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบผลสำเร็จ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็นพื้นฐานในการทำชิ้นงานเหล็กกั้นหนังสือ ในงานโลหะแผ่นเบื้องต้น ดังนี้ 
1. เครื่องมือวัด (Measuring TooL)



1.1  เกจวัดความหนาโลหะแผ่น และความโตลวด เกจชนิดนี้ทำจากเหล็กกล้าคาร์บอน     มีลักษณะกลมปากเป็นร่องรอบตัว เพื่อใช้เทียบวัดความหนาโลหะ และความโตลวด    ตัวเลขบนเกจวัดจะบอกความหนาของแผ่นโลหะเป็นทศนิยมหรือเศษส่วนของนิ้ว  ด้านหน้าของเกจ    จะบอกความหนาเป็น นัมเบอร์ ส่วนด้านหลังจะบอกเป็นทศนิยมของนิ้วในช่องที่ตรงกัน  โดยมีตั้งแต่เบอร์ 0 ถึงเบอร์ 36  นัมเบอร์มาก ความหนาจะลดลง เช่น เบอร์ 28  มีความหนาน้อยกว่าเบอร์ 16 เป็นต้น  
                    เมื่อเปรียบเทียบ นัมเบอร์กับความหนาแล้ว จะได้ขนาดดังนี้
                    นัมเบอร์          ความหนาเป็นนิ้ว (หรือมิลลิเมตร)
    16               0.0625 นิ้ว หรือประมาณ 1/6 นิ้ว     (1.5  มิลลิเมตร)
    22               0.0312 นิ้ว หรือประมาณ 1/32 นิ้ว   (0.8 มิลลิเมตร)
    28               0.0156 นิ้ว หรือประมาณ 1/64 นิ้ว (0.47 มิลลิเมตร)
            1.2 บรรทัดเหล็ก  (Steel Rule)  เป็นเครื่องมือวัดที่รู้จักกัน     ส่วนใหญ่จะทำจากเหล็กไร้สนิท วัดได้ทั้งระบบอังกฤษ และระบบเมตริก มีหลายขนาด ตั้งแต่ 12นิ้ว 24 นิ้ว และ 36 นิ้ว
1.3 ฉากเหล็ก (Square)  มีลักษณะเป็นรูปตัวแอล แขนทั้งสองข้างทำมุม 90 องศา ใช้ตรวจวัดความฉากของโลหะงานโลหะแผ่น 
2. เครื่องมือร่างแบบ (Lay – Out)
ส่วนมากเป็นเครื่องมือที่มีลักษณะปลายแหลม เพื่อใช้ในการเขียนเครื่องมือร่างแบบนี้ถ้าใช้งานด้วยตัวของมันเองแล้วไม่เกิดประโยชน์สูงสุด จะต้องร่วมกับเครื่องมือประเภทอื่น ๆ เช่น ใช้งานร่วมกับไม้บรรทัดเหล็ก เป็นต้น
         2.1 เหล็กขีด (Scriber) ทำหน้าที่ขีดเขียนลงบนแผ่นโลหะ เปรียบเสมือนดินสอหรือปากกาที่ใช้ในงานเขียนแบบทั่วไป เหล็กขีดนี้จะต้องมีความแข็งกว่าโลหะที่จะร่างแบบ ซึ่งทำจากเหล็กกล้า  คาร์บอน บริเวณปลายแหลมจะผ่านการชุบแข็ง เพื่อให้ทนต่อการสึกหรอได้ดี
2.2 วงเวียน (Divider)เป็นเครื่องมือร่างแบบที่ใช้เป็นประจำในงานโลหะแผ่น ใช้สำหรับเขียนวงกลมหรือส่วนโค้ง หรือใช้ในการถ่ายขนาด
2.3 วงเวียนเลื่อน  (Trammel Point)  ในงานโลหะแผ่น ชิ้นงานที่ทำอาจมีขนาดใหญ่เครื่องมือที่ใช้การร่างแบบต้องมีขีดความสามารถในการสร้างเพียงพอ วงเวียนธรรมดาไม่สามารถใช้เขียนส่วนโค้งได้ ต้องใช้วงเวียนเลื่อน เพราะเป็นเครื่องมือที่ใช้เขียนวงกลม หรือส่วนโค้งใหญ่ ๆ ได้  ขาทั้งสองข้างของวงเวียนจะสอดอยู่กับคานไม้ หรือคานเหล็ก ซึ่งมีความยาวเท่าไรก็ได้ตามต้องการ   ขาเหล็กแหลมทั้งสองข้างเลื่อนไปมาบนคานไม้หรือเหล็ก เพื่อปรับหารัศมีของวงกลมได้
  3. เครื่องมือ(Hand Tool)   
      1.  ค้อน ( Hammer) เป็นเครื่องมือพื้นฐาน ซึ่งจะขาดเสียไม่ได้ในงานโลหะแผ่น ใช้สำหรับตี เคาะขึ้นรูป ดัด พับ เป็นต้น มีรูปร่างต่าง ๆ  ตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้
  คำชี้แจง
  1.1 ค้อนหัวแข็งใช้เคาะดัดขึ้นรูปงานทั่วไป แบ่งออกเป็นค้อนหัวกลม ค้อนหัวขวาง และค้อนหัวตรง
1.2  ค้อนหัวแพะ หรือค้อนถอนตะปู (Nail Hammer) ใช้ ตี และถอนตะปูในงาน
1.3  ค้อนยาง(Rubber Hammer) หัวค้อนทำด้วยยางที่มีส่วนผสมทางเคมี มีสีดำคุณสมบัติเหนียว
1.4  ค้อนพลาสติก (Plastic Hammer)  หัวค้อนจะทำจากพลาสติกแข็ง หล่อ เป็นรูปหัวค้อน ภายในทำเกลียวเพื่อขันติดกับโครงโลหะทั้งสองข้าง ประกอบอยู่กับด้ามไม
1.5  ค้อนโลหะเบา ทำจากทองเหลือง  หรือตะกั่ว  เหมาะสำหรับงานที่ไม่ใช้แรงตอกตีมา
1.6  ค้อนไม้  (Wood Hammer)  หัวค้อนทำจากไม้เนื้อแข็ง และมีความเหนียว ไม่แตกง่าย เหมาะสำหรับงานผิวอ่อน เช่นอะลูมิเนียม และงานเคาะ ตอก สลักเกลียว 
1.7  ค้อนหนังแข็ง (Rawhide Face Hammer) เป็นค้อนที่ทำจากหนังสัตว์ ม้วนเป็นแท่งรูปทรงกระบอก ประกอบติดกับด้ามไม้
                    2. กรรไกร (Snips)  เป็นเครื่องมือตัดอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งทำงานเกี่ยวกับโลหะแผ่นเท่านั้นการตัดแผ่นโลหะด้วยกรรไกรจะสะดวก ง่าย และประหยัดกว่าการตัดด้วยสกัด  
         2.1  กรรไกรโยก (Lever Shear)  เหล็กแผ่นที่มีความหนามาก ตั้งแต่ 2  มิลลิเมตร ขึ้นไปเป็นการยากที่ จะตัดกรรไกรมือ เมื่อเป็นเช่นนี้ เครื่องมือที่จะช่วยในการตัดได้คือ กรรไกรโยก
กรรไกรโยกตั้งโต๊ะ (Bench Lever Shear)   กรรไกรโยกชนิดตั้งโต๊ะนี้จะออกแบบใบตัดให้มีลักษณะโค้งเพื่อหุ้มและแรงที่ใช้ในการตัดลงจะคงที่ตลอดความยาวของแนวตัดนั้นใบตัดสามารถปรับตั้งและถอดเปลี่ยนได้ แขนโยกที่ยาวจะช่วยในการผ่อนแรงโยกตัดได้ดี
2.2   กรรไกรไฟฟ้า    เป็นกรรไกรที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานช่วยให้มอเตอร์ทำงาน และมอเตอร์จะไปขับให้คมตัดทำงานในลักษณะขึ้นลงสามารถตัดแผ่นโลหะในระยะทางยาวได้ดีในขณะที่กรรไกรชนิดธรรมดาไม่สามารถกระทำได้
 เครื่องจักรที่ใช้ในงานโลหะแผ่น  (Machine in Sheet Metal)  ปัจจุบันในงานโลหะแผ่นได้มีการนำเครื่องจักรต่างๆ มาช่วยในการทำงาน ซึ่งเครื่องจักรเหล่านี้สามารถทำงานได้เที่ยงตรง เหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้แรงมาก มีความรวดเร็วในการทำงานช่วยผ่อนแรงแก่ผู้ปฏิบัติได้เป็นอย่างมาก     
 เครื่องตัดตรงชนิดป้อนแรงด้วยเท้า (Square Shear) เครื่องตัดชนิดนี้ใช้ตัดเป็นเส้นตรงเท่านั้น เพราะมีใบมีดบน และใบมีดล่างจะอยู่คู่กันเป็นแนวตรง  ใบมีดจะเอียงทำมุมกันประมาณ 10 -15 องศา  เพื่อให้ใบมีดค่อย ๆ กินงานในลักษณะตัดเฉือนเหมือนกรรไกร ช่วยไม่ให้ใบตัดรับแรงดันสะท้อนคืนจากการกดตัดมากเกินไป เครื่องตัดชนิดนี้มีใช้กันอยู่ทั่วไป จะบอกเป็นขนาดของความยาวใบตัด คือ 3 ฟุต   และ   4 ฟุต   ส่วนความหนาของโลหะแผ่นขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะ ซึ่งบริษัทผู้ผลิตจะกำหนดไว้ในคู่มือการใช้งาน ดังนั้นก่อนใช้งานผู้ปฏิบัติงานจะต้องศึกษาข้อมูลในการใช้งานจากคู่มือ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายกับงาน และเครื่องได้   
เครื่องตัดตรงขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Power Squaring  Shear) เป็นเครื่องจักรตัดชนิดตัดตรงเช่นเดียวกับแบบใช้เท้าเหยียบ เพียงแต่เครื่องตัดชนิดนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าทำให้มอเตอร์หมุนส่งกำลังไปขับกลไก ทำให้ใบมีดกดตัดลงตามต้องการ  
         ลำดับขั้นของการกำหนดร่างแบบหมายงาน
                    ในการกำหนดร่างแบบงานแต่ละงาน จะต้องวางแผนกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ก่อนลงมือปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องดำเนินการ ตามขั้นตอนดังนี้
          1.  ศึกษาแบบ  (drawing)  ต้นฉบับให้เข้าใจ
          2.  เขียนแบบร่างลงบนกระดาษขาว  เอ 4  เพื่อเพิ่มทักษะการร่างแบบ
          3.  ร่างแบบ ความกว้าง ยาว ตามขนาดที่เขียนลงบนเหล็กแผ่น ด้วยขนาด 6 x 9 ซม.
          4.  ตัดวัสดุโลหะแผ่นด้วยให้ได้ขนาดโตยขอบนอก เท่ากับหรือใกล้เคียงกับแบบด้วยกรรไกรตัดโลหะแผ่น
          5.  ลบคมและรอยเยินจากการตัดที่ขอบนอก ใช้ฉากจับระดับมุมฉากให้ได้ทั้ง  4 ด้าน
หากไม่ได้ฉากให้ตะไบขอบให้ได้ระดับทั้ง 4 ด้าน
         6.  ทำความสะอาดผิวหน้า ถ้ามีน้ำมัน จาระบี ควรล้างคาบน้ำมันหรือจาระบีออกให้หมดแล้วทาน้ำยาร่างแบบให้ทั่ว
         7.  กำหนดขนาดและขีดเส้นฐาน ( base line) หรือเส้นอ้างอิง (reference line) เพื่อใช้เป็นเส้นหลักในการวัดกำหนดขนาด
          8.  กำหนดตำแหน่งจุดระดับความกว้าง  ของขอบชิ้นงาน ที่มีในแบบ
          9.  จับระดับฉากโดยใช้ฉากวัดมุม แล้วใช้ขอขีด ขีดเส้นระดับ ทั้ง  ด้านบน ด้านล่าง
โดยด้านล่างห่างจากขอบ 2.0 ซม. ด้านบนห่างขอบ 1.5 ซม.
         10.  กำหนดตำแหน่งจุดแบ่งครึ่ง แนวตั้งบนชิ้นงาน  ตำแหน่ง ซม.
         11.  จับระดับฉากโดยใช้ฉากวัดมุม แล้วใช้ขอขีดขีดเส้นแบ่งครึ่งซึ่งมีขนาดเท่ากับ 3 ซม.
         12.  กำหนดตำแหน่งจากเส้นกลาง ออกทั้ง 2 ด้าน ๆ ละ 1.5  ซม.
         13.  ใช้ฉากจับระดับ ใช้ขอขีดขีดเส้น ระดับ 1.5 ซม.
        14.  ตรงเส้นระดับ 1.5 ซม. ทั้ง 2 ด้าน กำหนดเส้นระดับห่างจากเส้น 1.5 ซม. ออกด้านข้าง ทั้ง 2 ด้าน ๆ ละ 2  มม.
        15.  ใช้บรรทัดจับระดับ ใช้ขอขีดขีดเส้น ให้ห่างเส้น 1.5 เท่ากันตลอดแนว
      16.  ตรงเส้นระดับด้านล่าง  2  ซม. กำหนดเส้นระดับห่างจากเส้น 2 ซม. ออกด้านบนด้านล่าง  ด้านละ 2  มม.
        17.  ใช้บรรทัดจับระดับ ใช้ขอขีด ขดเส้น ให้ห่างเท่ากันตลอดแนว
       18.  ในแนวช่อง เส้นระดับ ข้อ  12 , 14  วัดระดับตำแหน่ง ตรงเส้น 1.5 ซม. กับ 2 ซม.  ตัดกันทั้ง 2 ด้าน ให้วัดระยะออกจากจุดตัดไปช่องละ 4  มม. ทั้งบนและข้าง ตามแนวช่อง 4 มม.ประมาณ 1.5 – 2.0 ซม. เพื่อเป็นแนวเจาะสว่าน
        19.  ใช้ขอขีด ขีดเส้นระดับ ตำแหน่ง 4 มม. ตลอดตำแหน่งที่วัดไว้
        20.  ใช้เหล็กนำศูนย์ตอกตำแหน่งเส้นจุดตัด 4 มม. กับเส้นระดับ 1.5 มม.
        21.  นำชิ้นงานจับด้วยปากกาจับงานให้อยู่ในระดับราบโดยวางไม้รองชิ้นงานไว้
        22.  ใช้สว่านแท่นเจาะชิ้นงานตำแหน่งที่มาร์คด้วยเหล็กนำศูนย์ไว้ (ระวังอย่าให้ผิดแนวมาร์คเพราะจะทำให้เกิดปัญหาการตัดชิ้นงานยากขึ้น)
        23.  ลบคมเจาะด้วยตะไบ ทุบแผ่นชิ้นงานเบา ๆ ด้วยไม้หรือค้อนหนังแข็งให้ชิ้นงานแบนราบตามปกติ
        24.  ใช้สกัดปากแบนตีเจาะแนวที่สว่านเจาะทำแนวไว้ให้ขาดจากกัน ทั้ง 3 ด้าน
        25.  ใช้เลื่อยตัดเหล็กตัดตามแนวเส้นระดับ 1.5 ซม.  จนตลอดแนว
        26.  ใช้ปากกาจับชิ้นงานโดยให้ขอบบนปากกาจับในแนว 2  ซม.
        27.  พับแผ่นเหล็กให้ตั้งฉากโดยแกนกลางไม่ต้องพับตาม
        28.  ใช้ตะไบ ตะไบขอบชิ้นงานที่เป็นรอยเลื่อย และขอบให้เรียบตามเส้นมาร์คที่ขีดไว้
        29.  ตกแต่งขอบชิ้นงาน ผิวชิ้นงานให้เรียบ ลบมุมชิ้นงานให้โค้งมน
        30.  ใช้กระดาษทรายขัดผิวอีกครั้งเช็ดทำความสะอาดชิ้นงานด้วยผ้า
        31.  เตรียมชิ้นงาน เตรียมสีสเปร์ย   พ่นรองพื้น 1 ครั้ง ห่างประมาณ 1 ฟุต
        32.  ใช้สีสเปร์ย พ่นทับอีก 2 ครั้ง แต่ละช่วงห่างกันประมาณ  10 นาที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น