วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 7 งานบัดกรีอ่อน

หน่วยที่ 7 งานบัดกรีอ่อน


การเชื่อมโลหะโดยใช้โลหะ
อะไรคือการบัดกรีอ่อน
การบัดกรีคือเทคนิคต่างๆที่สามารถเชื่อมโลหะได้โดยใช้ความร้อนและใส่โลหะผสมอื่นๆเข้าไปในการเชื่อม  ซึ่งโลหะผสมเหล่านี้จะต่างชนิดจากโลหะที่เราต้องการเชื่อมและมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าด้วย ในขั้นตอนการทำให้เย็น การบัดกรีนี้จะสามารถต้านทานการขยายตัว การบิดตัวและการงอตัวโดยไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใดๆต่อรอยเชื่อมเมื่อเวลาผ่านไปและอยู่ภายใต้สภาพที่การบัดกรีจะถูกใช้งาน  เช่น  ความดันอากาศ  อุณหภูมิ เป็นต้น  เราใช้คำจำกัความว่าการบัดกรีอ่อนในกรณีที่โลหะผสมที่ใช้มีจุดหลอมเหลวต่ำกว่า 450 องศาเซลเซียส 
อะไรคือแคพิแลริตี้ (capillarity)
โลหะผสมที่นำมาใช้จะละลายในลักษณะของเหลวอยู่ในพื้นที่แคบๆซึ่งอยู่ระหว่างหลอดกับตัวอุปกรณ์  ถึงแม้ว่าตำแหน่งของทั้งสองจะอยู่ในแนวตั้งและชันขึ้น  ปฏิกิริยาดังกล่าวเรียกว่า แคพิแลริตี้ (capillarity) เมื่อโลหะผสมเย็นตัวลง จะเหลือเพียงรอยเชื่อมที่คงทนถาวรระหว่างโลหะ โลหะผสม และโลหะ
ทำไมการทำความสะอาดหรือการขจัดคราบถึงมีความสำคัญมาก
ในการบัดกรีโดยใช้การละลายตัวของโลหะผสมนั้น จะต้องทำในขณะที่มันมีสภาพเหลว และไหลไปปกคลุมโลหะได้ทั้งหมด การหล่อรวมกันนี้ขึ้นอยู่กับความสะอาดของผิวด้านนอกของโลหะกับส่วนของโลหะผสมที่ละลายมาปกคลุมในที่นี้หมายความว่าถ้าระหว่างพื้นผิวของตัวโลหะกับโลหะผสมที่นำมาใช้มีอะไรขวางอยู่การบัดกรีจะมีตำหนิเนื่องจากโลหะผสมไมสามารถปกคลุมพื้นผิวได้ทั้งหมดซึ่งหลายครั้งกรณีดังกล่าวเป็นสาเหตุที่ทำให้การบัดกรีล้มเหลวในการที่จะได้พื้นผิวโลหะที่สะอาดนั้น สามารถกระทำได้โดยสองวิธี คือทางกลไกแลทางเคมีการทำความสะอาดทางกลไกสามารถกระทำได้โดยง่ายด้วยการใช้แปรงหรือฝอยวขจัดสิ่งแปลกปลอมและสนิมออกจากพื้นผิวเพื่อที่จะได้ไม่มีสิ่งกีดขวางเมื่อโลหะผสมแผ่มาปกคลุม ในระหว่างการทำความสะอาดนี้  ผิวของโลหะจะโดนขูดขีดเล็กน้อย เป็นผลให้เกิดรอยขนาจิ๋วซึ่งทำให้พื้นผิวของโลหะขยายขึ้น  กล่าวคือ  พื้นผิวขรุขระนี้ช่วยให้โลหะผสเกาะยึดกับตัโลหะมากขึ้นเนื่องจากปริมาณพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น การทำความสะอาดทางเคมีหมายถึงการใช้ผลิตภัณฑ์เคมีซึ่งผสมกรดหรือผลิตภัณฑ์ที่ออกฤทธิ์กับสนิมและขจัดมันออกจากพื้นผิวโลหะ
อะไรคือบทบาทของน้ำยาประสานระหว่างการ ให้ความร้อน
เมื่อพื้นผิวของโลหะปราศจากสิ่งแปลกปลอม  สนิม  หรือเศษของมันแล้ว  เราก็ยังไม่สามารถให้ความร้อนกับตัวโลหะหรือตัวโลหะผสมได้ในทันที  เนื่องจากเราจะต้องป้องกันโลหะจากการตัวของสนิมอีกครั้งในระหว่างการให้ความร้อน สารซึ่งใช้สำหรับป้องกันการก่อตัวของสนิระหว่างการให้ความร้อน และช่วยให้พื้นผิวสะอาดตลอดขั้นตอนการบัดกรีนี้มีชื่อเรียกว่า น้ำยประสาน หรือ flux และเนื่องจากว่าน้ำยาประสานถูกนำมาใช้เพื่อขัดขวางการก่อตัวของสนิมในบริเวพื้นผิวที่จะบัดกรี เราจึงต้องแน่ใจว่าในระหว่างการใช้งาน สารดังกล่าวถูกทาทั่วบริเวณที่ตัวโลหะผสมจะปกคลุม
ทำไมจึงต้องหลีกเลี่ยง “การให้ความร้อนเกินขนาด”
การป้องกันไ ม่ ให้มี การให้ความร้อนเ กิ นขนาดระหว่างขั้นตอนการบัดกรี นับว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะความร้อนที่เกินขนาดอาจจะทำให้น้ำยาประสาน  หรือ  flux เสื่อมประสิทธิภาพ  อันจะส่งผลให้สารนี้ไม่สามารถกัดสนิมที่จะก่อตัวขึ้นในระหว่างขั้นตอนการให้ความร้อนและทำลายมันในที่สุด  ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นบ่อยครั้งในการบัดกรีที่ไม่เป็นผล  เพื่อหลีกเลี่ยง  “การให้ความร้อนเกินขนาด” เราควรจะตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอว่าโลหะผสมมีอุณหภูมิถึงจุดหลอมเหลวแล้ว  โดยนำมันเข้าไปใกล้บริเวณที่มีความร้อนซึ่งต่อไปจะต้องนำมาเชื่อมกัน  หรือทางที่ดีอีกทางก็คือการผสมน้ำยาประสานและโลหะผสมให้อยู่ในรูปผง  ทองแดงจะสูญเสียคุณสมบัติทางกลไกไปถ้าได้รับความร้อนเกินขนาด  สิ่งที่สำคัญเช่นกันก็คือการใช้แหล่งความร้อนที่มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป เช่นการใช้ท่อนำก๊าซอะเซทิลีนผสมออกซิเจนสำหรับการบัดกรี fittingขนาด 12.
การรู้ว่าเรามีผลิตภัณฑ์ชนิดใดอยู่ในมือเป็นสิ่งจำเป็น กฎข้อบัง
คับต่างๆก็มีความสำคัญ
ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งซึ่งเราควรใส่ใจระหว่างการบัดกรี เนื่องจากน้ำยาประสานและโลหะผสมส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของสารอันตรายอยู่ไม่ว่าจะถูกใช้งานในสภาพเย็นหรือเมื่อได้รับความร้อนในระหว่างบัดกรี น้ำยาประสานจะกระจายตัวในรูปของไอน้ำเข้าไปในผลิตภัณฑ์ที่อาจเป็นพิษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  ด้วยเหตุผลดังกล่าว  สถานที่ทำงานควรจะมีการระบายอากาศที่ดี  และควรจะแน่ใจว่าผู้ผลิตได้ปฏิบัติตามกฎที่ว่าด้วยสารพิษ  และได้อ่านคุณสมบัติทุกประการตามที่ติดไว้บนฉลาก  ทั้งนี้เพื่อเป็นมาตรการป้องกันสารที่อาจก่อให้เกิดอันตราย บางประเทศจะต้องมีการผ่านการรับรองโดยเจ้าหน้าที่เสียก่อนที่จะนำน้ำยาประสานมาใช้ในท่อทองแดงสำหรับน้ำและก๊าซได้ 
ข้อปฏิบัติ
-  ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดสนิมออกจากท่อทองแดงก่อนนำมาใช้
-  ใช้น้ำยาประสานในบริเวณที่จะบัดกรี
-  ใส่fittingเข้าไปและหมุนเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำยาประสานได้ปกคลุมทั้งหมด
-  ใช้หัวแร้งในการให้ความร้อนกับท่อทองแดง  โดยกระทำในบริเวณที่ใกล้กับส่วนประกอบ(ไม่ใช่ด้านบนของน้ำยาประสาน)
-  ใส่ดีบุกบัดกรีเข้าไปตรงรอยต่อขณะที่หัวแร้งยังคงให้ความร้อนกับท่อต่อไป (ไม่ใช่กับลวดดีบุก) ห้ามให้ความร้อนเกินไปกับตัวท่อและตัวfitting
-  เช็ดน้ำยาประสานที่ล้นออกมาบริเวณด้านนอกของรอยเชื่อมด้วยผ้าฝ้ายเปียก
การบัดกรีโลหะที่ผสมทองแดง – ทองแดง, ทองเหลืองและทองบรอนซ์ 
– เข้ากับโลหะผสมดีบุก (ดีบุก/เงิน, ดีบุก/ทองแดง หรือ ดีบุก/ตะกั่ว)
ชนิดน้ำ
รายการมาตรฐาน
DECALIQUID
1. ใส่ของเหลวลงไปตรงบริเวณที่ต้องการบัดกรี (รวมแปรงที่ใช้ทาด้วย) ไม่จำเป็นต้องทำ
ความสะอาดทองแดงก่อนนำมาใช้
2. ให้ความร้อนและใส่ดีบุกบัดกรีเข้าไป ซึ่งต่อมาจะแตกตัวโดยกระบวนการแคพิแลริตี้
(capillarity)
3. หลังจากการบัดกรี ให้เช็ดเอาน้ำยาประสานที่ล้นออกมาออก
- ผสมคลอไรด์สังกะสี
- ph 2/3
- ก่อให้เกิดการระคายเคือง
- มีฤทธิ์กัดกร่อน
- มีสารพิษในน้ำยาที่บรรจุ
- ใช้ในโลหะเก่าที่ไม่ได้รับการทำความสะอาดล่วงหน้า โดยใช้พู่กันทา
กฎ  DIN EN 29454 3.1.1.A
รายการทางชีวภาพ
ECOLIQUID
1. ใส่ของเหลวลงไปตรงบริเวณที่ต้องการบัดกรี (รวมแปรงที่ใช้ทาด้วย) ไม่จำเป็นต้องทำความ
สะอาดทองแดงก่อนนำมาใช้ สามารถทาสารตัวนี้ด้วยแปรงหรือนิ้วมือก็ได้เพราะไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ต่อผิวหนัง อันเป็นผลมาจากค่า phที่เป็นกลาง
2. ใช้ไฟอ่อนๆ ในปริมาณที่เพียงพอให้น้ำยาประสานออกปฏิกิริยาแล้วจึงใส่ดีบุกบัดกรีลงไป
ซึ่งต่อมาจะแตกตัวโดยกระบวนการแคพิแลริตี้ (capillarity)
3. หลังจากการบัดกรี ให้เช็ดเอาน้ำยาประสานที่ล้นออกมาออก ถ้ามีเหลืออยู่ในปริมาณน้อยจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายเพราะไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ได้รับการทดสอบสารพิษและ
พิสจน์ให้เห็นว่าไม่มีพิษหากบริโภคเข้าไปข้อพึงระวัง: ห้ามใช้ความร้อนเกิน เพราะจทำลายน้ำยาประสานได้
- ไม่ ผสมคลอไรด์สังกะสี
- ph 7
- ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
- ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน
- ไม่มีสารพิษในน้ำยาที่บรรจุ
- ใช้กับทองแดงมาตรฐานที่ไม่ได้รับการทำความสะอาดล่วงหน้า หรือโลหะเก่าซึ่งได้รับการทำ
ความสะอาดแล้ว โดยใช้พู่กันทา
กฎ DIN EN 29454 2.1.2.A
เจล
รายการมาตรฐาน
DECAGEL
1.  ทาเจลลงไปตรงบริเวณที่ต้องการบัดกรี (รวมพู่กันที่ใช้ทาด้วย)  ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดทองแดงก่อนนำมาใช้
2.  ให้ความร้อนและใส่ดีบุกบัดกรีเข้าไป ซึ่งต่อมาจะแตกตัวโดยกระบวนการแคพิแลริตี้
(capillarity)
3. หลังจากการบัดกรี ให้เช็ดเอาน้ำยาประสานที่ล้นออกมาออก
- ผสมคลอไรด์สังกะสี
- ph 4/5
- ก่อให้เกิดการระคายเคือง
- มีฤทธิ์กัดกร่อน
- ไม่มีสารพิษในน้ำยาที่บรรจุ
-ใช้ในโลหะเก่าที่ไม่ได้รับการทำความสะอาดล่วงหน้า โดยใช้พู่กันทา
กฎ  DIN EN 29454 3.1.1.C
รายการทางชีวภาพ
ECOGEL
1.  ทาเจลลงไปตรงบริเวณที่ต้องการบัดกรี (รวมพู่กันที่ใช้ทาด้วย)  ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดทองแดงก่อนนำมาใช้  สามารถทาสารตัวนี้ด้วยพู่กันหรือนิ้วมือก็ได้เพราะไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง  ต่อผิวหนัง  อันเป็นผลมาจากค่า phที่เป็นกลาง
2.  ใช้ไฟอ่อนๆ ในปริมาณที่เพียงพอให้น้ำยาประสานออกปฏิกิริยาแล้วจึงใส่ดีบุกบัดกรีลงไป
ซึ่งต่อมาจะแตกตัวโดยกระบวนการแคพิแลริตี้ (capillarity)
3.  หลังจากการบัดกรี  ให้เช็ดเอาน้ำยาประสานที่ล้นออกมาออก  ถ้ามีเหลืออยู่ในปริมาณน้อยจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายเพราะไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ได้รับการทดสอบสารพิษและพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่มีพิษหากบริโภคเข้าไป
ข้อพึงระวัง:  ห้ามใช้ความร้อนเกิน  เพราะจะทำลายน้ำยาประสานได้
- ไม่ ผสมคลอไรด์สังกะสี
- ph 7
- ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
- ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน
- ไม่มีสารพิษในตัวสารที่บรรจุ
-ใช้กับทองแดงมาตรฐานที่ไม่ได้รับการทำความสะอาดล่วงหน้า  หรือโลหะเก่าซึ่งได้รับการทำ
ความสะอาดแล้ว โดยใช้พู่กันทา
มาตรฐาน DIN EN 29454 2.1.2.C
เพส (paste)
รายการมาตรฐาน
STANFLUX (น้ำยาประสาน + ส่วนผสมชนิดผง)
1.  ใช้พู่กันทาเพสที่ผสมเอาไว้บริเวณรอบๆท่อและด้านในของfittingแต่อย่าให้ล้นออกมา
2.  สอดfittingเข้าไปและให้ความร้อนมันจนก
ระทั่งน้ำยาประสานละลาย  เติมลวดเชื่อมเข้าไปเล็กน้อยเพื่อให้การบัดกรีเสร็จสมบูรณ์
3. เช็ดน้ำยาประสานออกภายหลังการบัดกรีไม่เป็นอันตรายในกรณีที่ให้ความร้อนกับน้ำยา
ประสานเกินขนาด
รายละเอียด:
99.9% Sn
Sn 97% / Cu 3%
Sn 60% / Pb 40%
Sn 50% / Pb 50%
Sn 40% / Pb 60%
Sn 30% / Pb 70%
- ผสมคลอไรด์สังกะสี
- ph 4/5
- ก่อให้เกิดการระคายเคือง
- มีฤทธิ์กัดกร่อน
- มีสารพิษในน้ำยาที่บรรจุ
มาตรฐาน DIN EN 29454 3.1.1.C
มาตรฐาน DIN 1707 L-SnCu3
รายการทางชีวภาพ
ECOPASTE/ECOCREAM
1.  ทาเพสลงไปในชิ้นส่วนที่ต้องการบัดกรี(รวมพู่กันที่ใช้ทาด้วย)  ไม่จำเป็นต้องทำความสะ
อาดทองแดงก่อนนำมาใช้  สามารถทาสารตัวนี้ด้วยพู่กันหรือนิ้วมือก็ได้เพราะไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ต่อผิวหนัง อันเป็นผลมาจากค่า phที่เป็นกลาง
2. ใช้ไฟอ่อนๆ ในปริมาณที่เพียงพอให้น้ำยาประสานออกปฏิกิริยาแล้วจึงใส่ดีบุกบัดกรีลงไป
3.  หลังจากการบัดกรี  ให้เช็ดเอาน้ำยาประสานที่ล้นออกมาออก  ถ้ามีเหลืออยู่ในปริมาณน้อยจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายเพราะไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน และไม่มีพิษหากบริโภคเข้าไป
ข้อพึงระวัง:  ห้ามใช้ความร้อนเกิน  เพราะจะทำลายน้ำยาประสานได้
- ไม่ ผสมคลอไรด์สังกะสี
- ph 7
- ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
- ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน
- ไม่มีสารพิษในน้ำยาที่บรรจุ
มาตรฐาน DIN EN 29454 2.1.
ตัวเลือกโลหะผสมสำหรับการบัดกรีทองแดง
ทองแดงเป็นโลหะสำคัญเนื่องด้วยคุณสมบัติหลายประการของมัน สามารถใช้งานได้และทนต่อสิ่งแวดล้อมที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สำหรับการบัดกรีทองแดงนั้น ถือว่าจำเป็นมากที่จะต้องเลือกโลหะผสมที่มีจุดหลอมเหลวต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องถูกต้องตามเงื่อนไขที่ได้รับเลือกมาแต่แรก  เหตุผลก็คือทองแดงจะสูญเสียความแข็งแกร่ง  ณ  อุณหภูมิสูง  กล่าวคือจะสูญเสียคุณภาพที่โดดเด่นบางส่วนไป  ดังนั้นจึงควรเลือกการบัดกรีอ่อนมากกว่าที่จะเลือกชนิดแข็ง  ในกรณีของท่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว่า 50 มม. หรือมีขนาดยาวมากนั้น ควรจะใช้ชนิดแข็ง และในกรณีที่อุณหภูมิในการทำงานสูงถึง 100 องศาเซลเซียสก็ควรใช้การบัดกรีแข็งเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามสิ่งที่กระทำเสมอคือการหลีกเลี่ยงการใช้อุณหภูมิสูงโดยไม่จำเป็น  และการใช้เวลาในการให้ความร้อนมากเกินความจำเป็นในการบัดกรีอ่อนระหว่างทองแดงกับโลหะผสมดีบุก    ค่าแรงดันจนแตกหัก    (breaking tension) อยู่ที่ 5 กก./ตร.มม. ณ อุณหภูมิ 20องศาเซลเซียส ในขณะที่ค่าที่คาดการณ์ไว้สำหรับการบัดกรีแข็งคือ 25 กก/ตร.มม. การเลือกโลหะผสมเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากค่าการแตกหักของรอยต่อจะแปรผันตามส่วนประกอบของมัน เรามาลองดูตัวอย่างที่ชัดเจนมากสักสองตัวอย่าง: สำหรับโลหะผสมดีบุก-ตะกั่ว ณอุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส จะมีค่าการแตกหักนับเป็นครึ่งหนึ่งของค่าที่มี ณ อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส ในขณะเดียวกัน สำหรับโลหะผสมดีบุก-เงินแล้ว ณ อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส จะมีค่าการแตกหักอยู่ที่ 6กก./ตร.มม. ซึ่งก็หมายความว่าถ้าในระหว่างการใช้งาน โลหะผสมจะไม่ต้องทนกับอุณหภูมิที่สูง เราก็สามารถใช้โลหะผสมดีบุก-ตะกั่วได้ แต่ถ้าอุณหภูมิจะขึ้นสูง โลหะผสมชนิดนี้ก็ไม่เหมาะสม
โลหะผสมดีบุก-เงินชนิดต่างๆ
ทองแดงและโลหะผสมของมัน
โลหะผสมดีบุก-เงิน ในบรรดาโลหะผสมดีบุก-เงินตามมาตรฐานUNE 37-403-86 ที่โดดเด่นก็คือ
SnAg3,5  ซึ่งมีส่วนผสมของเงินจำนวน  3.5%  และมีจุดหลอมเหลวอยู่ที่  221  องศาเซลเซียส
และอีกชนิดหนึ่งคือ SnAg5 ซึ่งมีส่วนผสมของเงินจำนวน 5% และมีอุณหภูมิที่สูงกว่าเล็กน้อย
ข้อดีของโลหะผสมดีบุก-เงิน
โลหะผสมชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษสำหรับใช้กับท่อน้ำร้อนเพื่อการสุขาภิบาลและเพื่อการทำความร้อน  ในกรณีที่ใช้โลหะผสมชนิดนี้  อุณหภูมิสามารถขึ้นได้สูงถึง  175  องศาเซลเซียสโดยไม่ทำให้คุณสมบัติของโลหะผสมนี้เสียไป  การใช้โลหะผสมชนิดนี้จะช่วยขจัดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสารพิษในตะกั่ว  และเนื่องจากโลหะผสมนี้มีประกายที่คงทนถาวร  จึงควรนำมาใช้สำหรับการบัดกรีอัญมณีและสแตนเลสสตีล (stainless steel)อุณหภูมิที่ต่ำเป็นพิเศษในการบัดกรีจะทำให้โลหะผสมชนิดนี้กลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการบัดกรีแข็ง เพราะนอกจากจะมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าแล้วยังใช้งานได้ง่ายกว่าด้วยข้อดีของโลหะผสมดีบุก-เงิน
โลหะผสมชนิดนี้มีราคาสูงกว่าโลหะผสมดีบุก-ตะกั่ว หรือดีบุก-ทองแดง
ข้อเสียของโลหะผสมดีบุก-เงิน
-  เครื่องทำความร้อนส่วนกลาง และท่อน้ำร้อน ซึ่งจะมีอุณหภูมิสูงและการเปลี่ยนแปลงข
องอุณหภูมิอาจจะก่อให้เกิดการหดตัวในโลหะบัดกร
-  ท่อสำหรับอาหารและน้ำดื่ม
โลหะผสมชนิดนี้เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับ
-  เครื่องทำความร้อนส่วนกลาง และท่อน้ำร้อน ซึ่งจะมีอุณหภูมิสูงและการเปลี่ยนแปลงข
องอุณหภูมิอาจจะก่อให้เกิดการหดตัวในโลหะบัดกร
-  ท่อสำหรับอาหารและน้ำดื่ม
โลหะผสมดีบุก-ทองแดง
 ในบรรดาโลหะผสมชนิดนี้ที่โดดเด่นก็คือ SnCu3 ซึ่งมีส่วนผสมของทองแดงจำนวน 3% และมีจุดหลอมละลายอยู่ที่ 232 องศาเซลเซียสโลหะผสมนี้เป็นผลมาจากความพยายามในการใช้ทองแดงแทนเงินซึ่งมีราคาสูงกว่า  แต่การทำเช่นนี้ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าแต่อย่างใด  ในกรณีนี้อุณหภูมิสูงสุดในการใช้งานคือ  110 องศาเซลเซียส  ซึ่งต่ำกว่า  175องศาเซลเซียสของโลหะผสมดีบุก-เงิน  ถึงแม้ว่าจะมีจุดหลอมเหลวอยู่ที่  232  องศาเซลเซียส  ทองแดงกับดีบุกจะรวมตัวกันอย่างสมบูรณ์ที่  320 องศาเซลเซียส ซึ่ งนั่ นก็หมายความว่ าอุณหภูมิของโลหะผสมนี้จะต้องสูงกว่ าอุณหภูมิของโลหะผสมดีบุก-เงินประมาณ 100 องศาเซลเซียส
โลหะผสมชนิดนี้เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับ:
-  เครื่องทำความร้อนส่วนกลางซึ่งมีอุณหภูมิในการทำงานต่ำกว่า  110  องศาเซลเซียส
และท่อน้ำร้อนซึ่งมีอุณหภูมิไม่สูงและการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิไม่อาจจะก่อให้เกิด
การหดตัวในโลหะบัดกรีได้
-  ท่อสำหรับอาหารและน้ำดื่ม
โลหะผสมดีบุก-ตะกั่วชนิดต่างๆ
โลหะผสมดีบุก-ตะกั่ว  ในอดีตโลหะผสมชนิดนี้ได้รับความนิยมมากอันเนื่องมาจากจุดหลอมเห
ลวที่ต่ำ  แต่จากการวิจัยพบว่าทั้งตะกั่วและดีบุกเมื่อถูกเชื่อมเข้ากับมันจะสามารถละลายน้ำได้
ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายยิ่งถ้านำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ด้านสุขอนามัย  ในบรรดาส่วนผสมต่างๆ  ตัวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ 67/33 (SnPb) และ 50/50
โลหะผสมชนิดนี้เหมาะที่จะนำไปใช้สำหรับ:
โลหะผสม 67/33 (ดีบุก-ตะกั่ว): มีระยะของการหลอมเหลวอยู่ที่ระหว่าง 183 ถึง 249 องศาเซลเซียส ระยะที่ห่างดังกล่าวทำให้โลหะผสมชนิดนี้เหมาะมากสำหรับวัสดุที่ทำจากดีบุกแผ่น
โลหะผสม 50/50(ดีบุก-ตะกั่ว): มีระยะของการหลอมเหลวน้อยกว่า กล่าวคือระหว่าง 183 ถึง
216 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้สามารถนำไปใช้งานได้ในแผงไฟฟ้าของเครื่องทำความร้อน
โดยมีอุณหภูมิใช้งานสูงสุดอยู่ที่ 90 องศาเซลเซียส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น